Translate our WebBlog into other languages 40 languages.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาชีวศึกษา:หลักประกันความมั่นคง







การดำเนินการของอาชีวศึกษาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อฝ่ายกัมพูชาได้ของพระราชทานโรงเรียนที่มีการสอนทั้งสายสามัญ และสายอาชีพนั้น ทางคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ได้จัดวิชาชีพที่ต้องการในชั้นต้น ได้แก่ ไฟฟ้า กสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ ประมง และการซ่อมเครื่องยนต์

ในระยะแรก การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกองบัญชาการตำรวจตระเวยชายแดน โดยได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ พูดคุยกับชาวบ้าน และช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการพัฒนาที่ดินเพื่อการเพาะปลูกในโรงเรียนก่อน สำหรับเป็นตัวอย่างของชุมชนต่อไปในระยะแรก ๆ ครูยังไม่มีความรู้ที่จะแนะนำการเกษตรให้แก่นักเรียน และชุมชนใกล้เคียนของโรงเรียน ส่วนด้านการประมง และปศุสัตว์ก็เช่นเดียวกัน ครูของโรงเรียนไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ทางคณะกรรมการฝ่ายคุณภาพการศึกษา และคุณภาพชีวิตได้จัดอบรมครูทั้ง 4 สาขาวิชา หลายครั้ง ในประเทศไทย เพื่อให้ครูมีความรู้เพียงพอที่จะสอนักเรียนได้

ในช่วง พ.ศ.2546 จนถึง พ.ศ.2548 สำนักงานคุณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดการด้านอาชีวศึกษาของวิทยาชัยกำปงเฌอเตียล โดยได้วางแผนออกแบบเครื่องมือ ครุภัณฑ์ จัดการเรียนการสอน ฝึกอบรมครูวิชาชีพ ตลอดจนจัดกิจกรรมที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้


1. ได้นำครูที่ไม่มีพื้นความรู้ทางด้านวิชาชีพเข้ารับการอบรมด้านการสอนวิชาชีพ และทักษะทางวิชาชีพ ณ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อพัฒนาเป็นครูสอนสายอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

2. ได้นำครูต้นแบบของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลเข้าศึกษาดูงานในประเทศไทย ณ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรกมาการอาชีวศึกษาทั้งประเภทวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี และวิทยาลัยสารพัดช่างได้ร่วมฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนได้ศึกษาดูงานในงานมหกรรมอาชีวศึกษาเทิดไท้ 72 พรรษา มหาราชินี ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่าง 12 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2548

3. จัดให้มีกิจกรรมค่ายอาสาสมัครวิชาชีพเยาวชนไทย - กัมพูชา ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ระหว่างวันที่ 9-20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยการนำนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 4 คน จากสถานศึกษาในสังกัดวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี ที่สื่อสารภาษาเขมรได้ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ทางด้านวิชาชีพตลอดจนจัดให้มีการแข่งขันกีฬา และกิจกรรมค่าย ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนทั้งสองประเทศ

4. จัดอบรมคอมพิวเตอร์ให้ครูอาชีวศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 26 คน จาก 4 สาขาวิชา ระหว่างวันที่ 15 -19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากพบว่าครูอาชีวศึกษามีทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์น้อย ทำให้มีผลกระทบต่อการสืบค้นความรู้ และจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ประกอบกับครูอาชีวศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเชิงวิศวกรรม ตอลดจนการจัดทำสื่อการสอน ดังนั้นจึงได้จัดการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรกลุ่มนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปให้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยการในการอบรมเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสามารถพึ่งพากันเองทางวิชาการได้ และเพื่อสรรหาครูอาชีวศึกษาที่มีผลการประเมินสูงสุด จากการอบรม มาเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนอาชีวศึกษา และจากการประเมินความก้าวหน้าการใช้คอมพิวเตอร์ของครูอาชีวศึกาาที่ผ่านการอบรม 2 เดือน พบว่า มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

5. จัดอบรมวิชาชีพระยะสั้นให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน จำนวนกว่า 20 อาชีพ ระกว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมแนวทางการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้หลัก และรายได้เสริมให้แก่ครู นักเรียน ณ วิทลัยกำปงเฌอเตียล โดยได้รับความสนใจอย่างดียิ่ง ยอดผู้เรียนทั้งสิ้นกว่าพันคน และได้ออกบริการสอนวิชาชีพ ณ ชุมชนตลอาดกำปงเฌอเตียล 3 อาชีพ ซึ่งผู้นำชุมชน และชาวชุมชนกำปงเฌอเตียลสนใจเข้าเรียนจำนวนมาก

6. สนับสนุนนักเรียนทุนพระราชทานฯ ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาเกษตรกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์ ณ ประเทศไทย โดยได้รับนักเรียนเกรด 9 เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตร 3 ปี จำนวน 4 คน และนักเรียนเกรด 12 เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี และจะสนับสนุนนักเรียนกลุ่มนี้จนกระทั่งสำเร็จใหนระดับปริญญาตรีในสายเทคโนโลยี

7. จัดให้นักเรียนอาชีวศึกษา สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์เข้าพักในบ้านพักเกษตรด้านหลังวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จำนวน 12 หลัง ทำกิจกรรมปลูกผัก และเลี้ยงปลาดุก เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

8. จัดอบรมครูอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 25 - 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เพื่อเรียนรู้เทคนิควิธีการในการจัดทำสื่อประเภทแผ่นใส และแผ่นผ้า ซึ่งจะทำให้ครูเหล่านี้สามารถใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมนำมาผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้เอง ก่อให้เกิดการประหยัด และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาอย่างมาก

9. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้มอบชุดเครื่องส่งวิทยุเอฟ - เอ็ม ให้แก่จังหวัดกำปงธม และติดตั้งจนสามารถกระจายเสียงได้ในรัศมี 50 กิโลเมตร ซึ่งจังหวัดกำปงธมได้ใช้เครื่องส่งดับกว่างกระจายเสียงเพื่อให้ข่าวสาร และการบันเทิงแก่ประชาชนในจังหวัด และบริเวณใกล้เคียง

10. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการซ่อมมอเตอร์ไซด์พระราชทาน จำนวน 38 คัน เพื่อนำไปใช้ในกิจการของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

11. นำนักเรียนอาชีวศึกษาเข้าศึกษาดูงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ดังนี้ วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีบางไทร วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ และวิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน พ.ศ. 2548



อาชีวะศึกษา : หลักประกันความมั่นคงในอนาคต


แผนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในปี พ.ศ. 2549



สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เตรียมดำเนินการด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านอาชีวศึกษา ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ดังนี้

1. ปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาขึ้นใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากผลการประเมินการจัดการเรียนรการสอนในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบว่า หลักสูตรด้านอาชีวศึกษาาาที่ใช้ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะด้านวิชาชีพ นอกจากนั้นบางรายวิชาในหลักสูตรไม่มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนกัมพูชา ดังนั้นเพื่อให้วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลมีหลักสูตรที่สามารถตอบสนองเพื่อสร้างบุคลากรด้านนี้ให้แก่ราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างแท้จริง จึงจะเสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่วขึ้นใหม่ทั้ง 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์

2. ปรับปรุงตารางเรียนเฉพาะรายวิชาชีพในรูปแบบ "block release" เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้เกิดระบบการจัดการเรียนการสอนที่เนื่อง และจบเป็นเรื่อง ๆ ซึ่งการจัดตารางเรียนในลักษณะนี้จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และได้ฝึกทักษะในวิชาชีพนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับธรรมชาติของการเรียนการสอนสายอาชีวศึกษา นักเรียนไม่สับสน และพวงกับการเรียนวิชาอื่น เนื่องจากมีการเรียนในช่วงเวลานั้นเพียงครั้งละ 1 วิชา นักเรียนที่สำเร็จในแต่ละวิชาชีพจะสามารถนำความรู้ และทักษะไปใช้งานได้จริง ครูที่ว่างจากการสอนสามารถนำไปอบรบพัฒนา เตรียมการสอน จัดทำสื่อการสอน หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้

3. จัดอบรมวิชาชีพระยอสั้นให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน จำนวน 20 อาชีพ ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เนื่องจากการจัดอบรมวิชาชีพระยะสั้นครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 มีผู้สนใจเข้าเรียนจำนวนมากทุกวิชาชีพช่าวยสร้างรายได้เสริมให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน จึงได้วางแผนจะจัดกิจกรรมนี้ปีละครั้ง

4. จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครวิชาชีพเยาวชนไทย -กัมพูชา ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล โดยการนำนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 10 คน จาก 4 สาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาพื้นฐาน สาขาวิชาละ 2 คน จากสถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเภทวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีที่สื่อสารภาษาเขมรได้ ทั้งนี้เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ซึ่งในการจัดกิจกรรมค่ายดังกล่าวในครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนตุลาคม พ.. 2547 นั้น ผลจากการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยเฉพาะกับนักเรียนอาชีวศึกษาปีสุดท้ายของวิทยาลัยแห่งนี้ โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬา และกิจกรรมค่ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนทั้งสองประเทศ ซึ่งได้วางแผนจะจัดปีละ 2 ครั้ง

5. สนับสนุนนักเรียนทุนพระราชทานฯ ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์ ณ ประเทศไทย โดยจะรับนักเรียนอาชีวศึกษาเกรด 12 เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี จำวน 8 คน สาขาวิชาละ 2 คน ใน 4 สาขาวิชาที่เปิดสอน เพื่อพัฒนาเป็นครูอาชีวศึกษา และจะสนับสนุนนักเรียนกลุ่มนี้จนกระทั่งสำเร็จในระดับปริญญตรีในสายเทคโนโลยี

6. นำครูอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลที่มีความตั้งใจในการทำงานเข้าศึกษาดูงาน ณ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ครูอาชีวศึกษาที่มีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน

7. นำครูใหม่อาชีวศึกษาดูงานในงานมหกรรมอาชีวศึกษาเทิดไท้ 12 สิงหามหาราชินี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา และเป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพในสาขาที่เรียน เพื่อก้าวทันต่อพัฒนาการด้าน อาชีวศึกษา ตลอดจนได้เรียนรู้ประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่ทันสมัย

8. อบรมการจัดทำสื่อการเรียนการสอนประเภทชุดฝึกปฏิบัติให้แก่ครูอาชีวศึกษา เนื่องจากสภาพปัจจุบัน สื่อประเภทชุดฝึกมีจำนวนน้อยมาก ทำให้การฝึกปฏิบัติไม่สามารถเอื้อต่อการเรียนรู้ด้านวิชาชีพในสาขาวิชานั้น ๆ ถ้าครูอาชีวศึกษาสามารถสร้างสื่อดังกล่าวได้เองจะช่วยเสริมสร้างคุณภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น และช่วยประหยัดงบประมาณด้านการจัดทำ และวัสดุที่ใช้ฝึกปฏิบัติได้มาก

9. จากการอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านวิชาชีพให้กับครูอาชีวศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ผลปรากฏว่า ครูเหล่านั้นสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการจัดทำเอกสารการสอน การสืบค้นความรู้จากอินเตอร์เน็ต ในระยะต่อไปจะจัดอบรมด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นให้แก่ครูอาชีวศึกษา และเพื่อเอื้อต่อการเตรียมการสอน การจัดทำสื่อการสอน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ

10. จัดกลุ่มธุรกิจ โดยให้มีการรวมกลุ่มของนักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อนำผลผลิตที่ได้จากการฝึกปฏิบัติให้สาขาวิชาต่าง ๆ มาดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ทั้งธุรกิจบริการ และธุรกิจการจัดจำหน่าย ในระยะแรกจะดำเนินการผ่านสหกรณ์ร้านค้าวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

11. พัฒนาความรู้ด้านทักษะวิชาชีพให้แก่ครูอาชีวศึกษาที่มีอยู่เดิม โดยจะจัดการอบรม ณ โรงเรียนอาชีวศึกษาดอนบอสโก พนมเปญ เป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาให้เป็นครูชำนาญการด้านปฏิบัติ เฉพาะรายวิชา และในอนาคต หากครูอาชีวศึกษาดังกล่าวไม่สามารถพัฒนาให้สอนวิชาชีพได้ อาจจะมีแผนให้พัฒนาเป็นครูสอนวิชาสามัญให้แก่นักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับระบบการจัดตารางเรียนแบบ "block release" สำหรับ ครูที่บรรจุใหม่ และนักเรียนทุนพระราชทานฯ สายอาชีวศึกษา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นครูผู้เสนอทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ


กิจกรรมการเรียนการสอนนานับปการที่คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดขึ้นด้วยความจริงใจ และเสียสละทำให้นักเรียนอาชีวศึกษาที่เรียนจบเกรด 12 หลายคนได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และหลายคนได้เข้าทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ทำให้มีรายได้จากวิชาชีพที่ติดตัวไปจากวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลนี้

การศึกษาเพื่อสานฝันอันยั่งยืน



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้งเพื่อทรงศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เพราะทรงถือว่าราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องอารยธรรมของโลก การตอบแทนน้ำใจไมตรีของชาวกัมพูชา ไม่มีสิ่งใดจะล้ำค่าและยั่งยืนเท่ากับการพระราชทานการศึกษาให้กับชาวกัมพูชา
ในเรื่องของการศึกษา ทรงมีพระราชปณิธานว่า

"ข้าพเจ้าเห็นมาตั้งแต่เด็กว่า การพัฒนาการศึกษา การแพร่ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ชาติจะได้ก้าวหน้าและคนที่แพร่ความรู้ก็ได้บุญด้วย"

จากพระราชปณิธานดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้พระราชทานของขวัญที่ยั่งยืน คือแหล่งแพร่ความรู้เพื่อชาวกัมพูชาเอง ผู้ที่ได้รับความรู้นั้นจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทบเท่าทวีคูณไปเรื่อยๆ จนครูและนักเรียนในโรงเรียนจำนวนมากจะได้นำความรู้ไปช่วยกันพัฒนาราชอาณาจักรกัมพูชาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
การจัดการศึกษาในวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลจึงมีทั้งการศึกษาสายสามัญ สายอาชีวศึกษา ๔ สาขาวิชา ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ฝ่ายกัมพูชาขอพระราชทานให้โรงเรียนมีหลักสูตร ๒ ประเภท คือ


๑. สายสามัญ เกรด ๗-๑๒ จำนวน ๔ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชากสิกรรม และสาขาปศุสัตว์
ฝ่ายกัมพูชาได้ดำเนินการเตรียมหลักสูตร คัดเลือกบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถและสมัครใจมาทำงานที่โรงเรียน อาทิ ครูผู้สอนสายสามัญ ครูผู้สอนสายอาชีวศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนที่จะสามารถบริหารโรงเรียนและหลักสูตรได้
การเตรียมการทางด้านการบริหารการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาหลักสูตรวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลนั้น คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยมีคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการการฝึกอบรม ได้แก่


๑. การจัดรูปแบบการศึกษาตามที่ราชอาณาจักรกัมพูชาต้องการ


๒. การจัดอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้บริหารและครูในประเทศไทยหลายครั้ง รูปแบบการอบรมมีหลายรูปแบบ ทั้งการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานสถานศึกษาลักษณะต่างๆ ฝึกปฏิบัติการ วางแผนจัดกิจกรรมผลิตสื่อการสอน และการวัดประเมินผล หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรของโรงเรียนแบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ

ดังนี้



๒.๑ การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน (Basic Workshop) สำหรับบุคลากรของโรงเรียนทุกคน ดำเนินการฝึกอบรม ในประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญ อาทิ


๑) วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

๒) หลักสูตรโรงเรียน

๓) การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

๔) แผนการสอนแบบบูรณาการ

๕) โรงเรียนเพื่อสร้างปัญญาและพัฒนาคุณภาพชีวิต


๖) รายงานการศึกษาตนเอง

๗) โครงการเรียนรู้ของนักเรียน

๘) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

๙) การประกันคุณภาพการศึกษา

๑๐) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

๑๑) เทคโนโลยีการศึกษา


๑๒) หลักสูตรขั้นสูงสำหรับผู้บริหาร ได้แก่ การบริหารคุณภาพในองค์รวม (TQM) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และการวางแผนกลยุทธ์พัฒนาโรงเรียน ฯลฯ



๒.๒ การฝึกอบรมขั้นสูง (Advanced Workshop) สำหรับบุคลากรของโรงเรียนตามสายวิชาที่สอนหรือตามสายงานการบริหารและสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียน โดยดำเนินการฝึกอบรมในประเทศไทย สาระสำคัญประกอบด้วย


๑) การวิเคราะห์หลักสูตรและการจัดทำแผนการสอนระยะยาวและรายคาบ


๒) การศึกษาเนื้อหาองค์ความรู้เพิ่มเติม การจัดทำสื่อธรรมชาติ และสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา




๓) การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน


๔) การจัดทำระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน


๕) การทดลองสอน การนิเทศการสอน และการปรับปรุงพัฒนาการสอน


๒.๓ การฝึกปฏิบัติการในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและเน้นประสิทธิผล (โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน Instructional Quality Development Project - IQDP)


สาระสำคัญของโครงการ IQDP ประกอบด้วย


๑) การวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน



๒) การจัดทำแผนการสอนและแผนการทำงานของครู


๓) การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู หมวดวิชา และระดับชั้น


๒.๔ การจัดอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มเติม ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล หลายครั้งในหัวข้อต่างๆ ดังนี้


๑) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ


๒) การสอนสุขภาพอนามัยและการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน


๓) การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา



๔) หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ๑๐๘ อาชีพ


๕) สหกรณ์โรงเรียน



ในการจัดอบรมสัมมนาทุกครั้ง คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตจะยึดแนวพระราชปณิธานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า การจัดการศึกษา ณ ที่ใดต้องคำนึงถึงขอบเขตและความเป็นไปได้ตามสถานภาพของที่นั้น และ การจัดการศึกษาต้องมีการพูดคุยกันอย่างละเอียด การเพิ่มเติมเนื้อหาวิชาหรือหลักสูตรใดควรเหมาะสมกับพื้นที่ ดังนั้น การดำเนินการช่วยเหลือตามแนวพระราชดำริ ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักสูตร วิธีการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และการประเมินผล



ธ ทรงเป็นหลักชัยนิรันดร์การ: แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในการจัดการศึกษา



ตามแนวพระราชดำริของสำเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การก่อร่างสร้างวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ณ ตำบลช็อมโบร์ อำเภอปราสาทช็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ จนกระทั่งมาถึงวันสำคัญ คือ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ นี้ คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายราชอาณาจักรไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาได้ยึดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นธงชัยตลอดมา


แนวพระราชดำริที่พระราชทานในวันนั้นมีดังนี้

๑. การรับนักเรียนเข้าเรียนในระยะแรกไม่ควรเกิน ๑,๒๐๐ คน

๒. ทรงเน้นเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียนเป็นพิเศษ สำหรับนักเรียนนั้นไม่ว่าจะเป็นนักเรียนชาติใด ถ้าโภชนาการดี จะทำให้สุขภาพอนามัยดี สติปัญญาและการเรียนของนักเรียนจะบังเกิดผลดีตามมาด้วย

๓. ทรงให้ความสำคัญของการอนุรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

๓.๑ การอนุรักษ์โบราณสถาน โรงเรียนพระราชทานแห่งนี้อยู่ใกล้กับปราสาทช็อมโบร์ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของราชอาณาจักรกัมพูชา นักเรียนและชุมชนน่าจะได้รับการปลูกฝังให้รักและหวงแหนโบราณสถานนั้นและมีความรู้พอที่จะเป็นมัคคุเทศก์อธิบายให้นักท่องเที่ยวฟังได้


๓.๒ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรจะปลูกฝังให้นักเรียนและชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้รู้จักรัก หวงแหนป่า ต้นไม้ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ อันจะนำไปสู่การรักและหวงแหนประเทศชาติได้ในที่สุด


๔. การเรียนรู้เรื่องสุขภาพอนามัยและโภชนาการ จะนำไปสู่ความรู้ในด้านสุขศึกษาและคหกรรมศาสตร์ โดยอาจจะนำความรู้ดังกล่าวไปประกอบอาหารหรือขนมสำหรับขายนักท่องเที่ยว รวมทั้งอาจจะพัฒนาไปถึงเรื่องการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้

๕. การเรียนภาษาต่างประเทศ ในอนาคตนักท่องที่ยวจะหลั่งไหลมาท่องเที่ยวราชอาณาจักรกัมพูชามากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และนักท่องเที่ยวที่พูดภาษาอังกฤษจากประเทศอื่นๆ ดังนั้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษน่าจะเป็นภาษาที่นำมาสอนในโรงเรียนนี้ได้


เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทอีกครั้งหนึ่งในวาระที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา และการลงนามความตกลงโครงการระหว่างกรมราชองครักษ์กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬา ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งโรงเรียนปราสาทช็อมโบร์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยกับปงเฌอเตียล) จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา



ในวาระนั้น พระราชดำรัสสำคัญที่พระราชทานแก่คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ นำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติงานจัดการศึกษา ได้แก่

๑. ให้ยึดหลักสูตรของราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นหลักและเพิ่มเติมสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์

๒. ให้ใช้การสหกรณ์โรงเรียนเป็นเครื่องมือในการฝึกการบริหารและการจัดการ เป็นการฝึกการบันทึกค่าใช้จ่ายและการลงทุน

๓. ควรปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์ การจัดการศึกษาตามโครงการฯ เพื่อให้ชาวไทย ชาวกัมพูชา และชาวต่างประเทศอื่นๆ ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเพื่อสร้างโรงเรียนให้แล้วเสร็จ

๔. ควรอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติกัมพูชา อาทิ ปราสาทช็อมโบร์ ควรนำความรู้เหล่านี้บรรจุไว้ในหลักสูตร นักเรียนอาจนำความรู้เรื่องโบราณสถานต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องปราสาทช็อมโบร์ ไปใช้เป็นวิชาชีพได้ เช่น เป็นมัคคุเทศก์นำชาวกัมพูชา ชาวไทย และชาวต่างประเทศเข้าชมปราสาท อันเป็นการเพิ่มพูนรายได้อีกทางหนึ่ง




คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายน้อมรับพระราชกระแสใส่เกล้าฯ ไว้เป็นแนวทางดำเนินการด้วยความซาบซึ้งในครูพระองค์นี้ การดำเนินงานทำไปได้ช้าบ้างเร็วบ้าง แต่มุ่งหวังว่าจะพยายามดำเนินการจัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ เพื่อประโยชน์สุขของชาวกัมพูชาเอง

สิ่งที่ควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้อีกเรื่องหนึ่งคือ การระดมเงินเพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียนพระราชทานแห่งนี้ นอกจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงบอกบุญไปยังพระสหายชาวไทยและชาวต่างประเทศให้มาช่วยกันบริจาคสมทบแล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรจัดแสดงโขนหน้าจอ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนอินทรชิตถูกศรกินนม ณ สังคีตศาลา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ในรอบที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโขนร่วมกับประชาชนที่ซื้อบัตรเข้าชมตามปกตินั้น กรมศิลปากรได้นำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนโครงการโรงเรียนพระราชทานนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ยังทรงระนาดเอกประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากร ตอนยกรบ ณ โรงละครแห่งชาติ โดยใช้เวลาในการแสดงทั้งหมดประมาณ ๓ ชั่วโมงเศษ ในครั้งนั้นกรมศิลปากรซึ่งเป็นผู้จัดการแสดงและผู้บัญชาการทหารบกผู้จัดจำหน่วยบัตรได้ร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบโครงการนี้เช่นกัน


พระราชอัจฉริยะภาพแลพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรแห่งประเทศไทยที่ทรงบรรเลงระนาดเอกร่วมกับเจ้านายวังปลายเนิน ประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากรในวันนั้นเป็นการยืนยันความตั้งพระทัยของพระองค์ที่ทรงมุ่งมั่นในการพระราชทานความช่วยเหลือโครงการนี้ และยังเป็นการชี้ให้ประจักษ์ถึงหิตานุหิตประโยชน์ของศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ได้เป็นเพียงแต่การที่ทรงบันดาลปิติหฤหรรษ์แก่ประชาชนคนดูเท่านั้น แต่การทรงระนาดเอกครั้งนั้นยังเป็นจุดเริ่มต้นของการรณรงค์หารายได้สมทบทุนสำหรับสร้างโรงเรียนพระราชทานแห่งนี้ด้วย


ด้วยพระราชปณิธานที่มั่นคงในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลแห่งนี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่เบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ ทรงมีพระราชปรารภที่จะพระราชทานของขวัญชิ้นเอกคือการศึกษาแก่ประชาชนชาวกัมพูชา ผู้รับสนองพระราชดำริชุดแรก คือ พลเอกวาภิรมย์ มนัสรังษี แห่งกรมราชองครักษ์ และพลโทวิชิต ยาทิพย์ (ยศขณะนั้น) ทั้งสองท่านได้สนองพระราชบัญชาโดยการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ตลอดมา


การพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ นั้น ได้ประจักษ์ผ่านพระราชกรณียกิจใหญ่น้อยหลายประการทั้งในราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ดังนี้


ครั้งที่ ๑


เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพื้นที่ที่จะพระราชทานโรงเรียน


ครั้งที่ ๒


เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชาทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อถวายรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานและขอพระราชทานวินิจฉยในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ราชอาณาจักรกัมพูชา



ครั้งที่ ๓


เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานลงนามในพิธีสารฯ ว่าด้วยการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา ครั้งที่ ๑ คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท


ครั้งที่ ๔


เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระราชทาน หรือวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล อำเภอปราสาทช็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม


ครั้งที่ ๕


เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้บริหารและครูโรงเรียนพระราชทานจำนวน ๔๖ คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อรับพระราชทานวุฒิบัตรการฝึกอบรมในโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรของโรงเรียนพระราชทาน ตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา (ระยะที่ ๑) รุ่นที่ ๑ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคลากรรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของโรงเรียนเข้ามารับการฝึกอบรมระหว่างวันที่ ๘-๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔



ครั้งที่ ๖


เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามการก่อสร้างอาคารเรียนในวันนั้นได้พระราชทานสนามกีฬา เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฯลฯ แก่ผู้แทนราชอาณาจักรกัมพูชา


ครั้งที่ ๗


เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโขนหน้าจอ ตอนอินทรชิตถูกศรกินนมซึ่งกรมศิลปากรจัดถวายฯ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบโครงการโรงเรียนพระราชทาน ณ สังคีตศาลา กรมศิลปากร


ครั้งที่ ๘


เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้บริหารและครูจากราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งผ่านการอบรมในโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรของโรงเรียนพระราชทาน (หลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตรขั้นสูงรุ่นที่ ๒) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อรับพระราชทานวุฒิบัตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา



ครั้งที่ ๙


เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงติดตามความก้วหน้าในการดำเนินงานโรงเรียนพระราชทาน


ครั้งที่ ๑๐


เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณร่วมบรรเลงระนาดเอกประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากร ตอนยกรบ ณ โรงละครแห่งชาติ งานนี้กองทัพบกได้จัดจำหน่ายบัตรเพื่อนำรายได้ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบโครงการโรงเรียนพระราชทาน


ครั้งที่ ๑๑


เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานลงนามสนพิธีสารแก้ไขความตกลงโคงการระหว่างการทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬา แห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับกรมราชองครักษ์แห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งโรงเรียนปราสาทช็อมโบร์ คณะกรรมการโครงการพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท



ครั้งที่ ๑๒


เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้บริหารและครูจากราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งผ่านการอบรม ตามหลักสูตรโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรขั้นพื้นฐานและขั้นสูง จำนวน ๖๐ คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อรับพระราชทานวุฒิบัตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา


ครั้งที่ ๑๓


เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ คณะกรรมการฝ่ายไทยได้นำนักเรียนทุนพระราชทานทั้ง ๑๒ คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วังสระปทุม เพื่อรับพระราชทานพระราโชวาทก่อนที่จะแยกย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดศรีสะเกษในวันนั้น ฯพณฯ นายปก ทอน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาและคณะได้ร่วมเข้าเฝ้าฯ ด้วย


ครั้งที่ ๑๔


เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีสารแก้ไขความตกลงโครงการและพิธีสาร ค.ศ.๒๐๐๒ ระหว่างกรมราชองครักษ์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งและพัฒนาวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท



ครั้งที่ ๑๕


เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา



พระราชทานความช่วยเหลือตามโครงการนี้กล่าวได้ว่า เป็นการพระราชทานการศึกษาทั้งระบบ ทุกคนอาจจะเข้าใจว่าเริ่มต้นจากการก่อสร้างอาคารเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ พระราชทานคณะกรรมการฝ่ายไทยให้มาร่วมจัดการศึกษาเท่านั้น อันที่จริงแล้วยังได้พระราชทานแนวพระราชดำริอย่างครูใหญ่ของโครงการที่ทรงคอยอุ้มชูดูแลให้อยู่ในทิศทางที่พึงจะเป็น และยังทรงเป็นแม่กองในการรณรงค์หารายได้สมทบทุนสำหรับสร้างโรงเรียนแห่งนี้ด้วยพระองค์เอง

กว่าจะเป็นวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

    ในการก่อสร้างอาคารสถานที่ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานค่าใช้จ่ายในก่อสร้าง โดยมีคณะกรรมการฝ่ายก่อสร้างและอาคารสถานที่เป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้าง ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมของกัมพูชา ฝ่ายกัมพูชาได้อำนวยความสะดวกในการจัดหาพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง และให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และประสานงานด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง โดยในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดพื้นที่ในการก่อสร้างของโรงเรียน ๖๐,๐๐๐ ตารางเมตร (กว้าง ๒๐๐ เมตร ลึก ๓๐๐ เมตร) ต่อมาในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๔ กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬา ได้มีหนังสือแจ้งขยายพื้นที่ก่อสร้างโรงเรียนโดยมีความกว้าง ๒๐๐ เมตร ลึก ๔๐๐ เมตร หรือเท่ากับ ๔๕ ไร่ (๗.๒ เฮกตาร์)






ตามความตกลงโครงการระหว่างกรมราชองครักษ์กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬา ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ฝ่ายไทย โดยคณะกรรมการฝ่ายก่อสร้างอาคารและสถานที่ได้ให้การสนับสนุนในการปรับ พื้นที่และก่อสร้างอาคาร จำนวน ๑๑ หลัง การก่อสร้างในระยะที่ ๑ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ รวม ๒๔๐ วัน อาคารและสถานที่ที่ก่อสร้างได้แก่
๑. อาคารบริหาร
๒. อาคารเรียนชั้นเดียว (อาคารละ ๖ ห้องเรียน จำนวน ๖ หลัง)
๓. อาคารห้องสมุด
๔. อาคารเทคโนโลยีการศึกษา (ห้องคอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการทางภาษา)
๕. อาคารพักอาศัยสำหรับครู (๘ ห้อง)
๖. หอพักอาศัยนักเรียนหญิง
๗. ห้องน้ำห้องส้วม (๑๑ หลัง)
๘. สนามกีฬา (สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล และสนามวอลเลย์บอล)
๙. โรงเลี้ยงไก่ ๑ แห่ง
จากการขยายระยะเวลาความร่วมมือโครงการต่อไปจนถึงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ ตามแก้ไขพิธีสาร ค.ศ.๒๐๐๒ ได้มีการก่อสร้างอาคารสถานที่เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก ทั้งในพื้นที่โรงเรียนและพื้นที่ชุมชน ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณของทหารและตำรวจประจำท้องถิ่น ตลอดจนมีการปรับปรุงทัศนียภาพ และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค พร้อมกันนั้นได้ขยายพื้นที่ของโรงเรียนออกไปอีก ๗๒ ไร่ หรือ ๑๒ เฮกตาร์ (๔๐๕ เมตร x ๕๙๐ เมตร) รวมพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๑๗ ไร่
การก่อสร้างในระยะที่ ๒ นี้ เริ่มดำเนินการโดยคณะกรรมการฝ่ายก่อสร้างอาคารและสถานที่ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ รวมเวลา ๗๑๑ วัน ระหว่างนี้มีการหยุดงานก่อสร้างเป็นเวลา ๘๒ วัน ประกอบด้วยอาคาร จำนวน ๓๔ หลังและสถานที่ต่างๆ ได้แก่
๑. อาคารเรียนสายอาชีวศึกษาพร้อมห้องน้ำ (๔ หลัง)
๒. หอพักนักเรียนชาย
๓. บ้านพักครู
๔. โรงฝึกงาน
๕. รั้วและประตูทางเข้าโรงเรียน
๖. สนามกีฬาแห่งที่ ๒ พร้อมอัฒจันทร์
๗. อาคารอเนกประสงค์ ๒ ชั้น สำหรับจัดประชุมและกิจกรรมต่างๆ
๘. ป้ายเฉลิมพระเกียรติ
๙. โรงรถสำหรับรถ ๖ คัน
๑๐. อาคารที่พักสำหรับนักเรียนกสิกรรม (๗ หลัง)
๑๑. คอกปศุสัตว์

นอกจากนั้นแล้ว บริเวณนอกรั้วโรงเรียนโดยรอบ ได้ก่อสร้างอาคาร ดังนี้
๑๒. สำนักงานสารวัตรตำรวจและที่พัก
๑๓. สถานีตำรวจอำเภอปราสาทช็อมโบร์และพี่พัก
๑๔. สำนักงานทหารท้องถิ่นและที่พัก
๑๕. สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ
การก่อสร้างในระยะที่ ๓ ได้เริ่มดำเนินการโดยกรมทหารช่าง ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ รวมเวลา ๒๘๑ วัน ประกอบด้วยอาคาร จำนวน ๘ หลัง ได้แก่ อาคารเรือนรับรองและอาคารสหปฏิบัติการ และบ้านพักครู
ในจำนวนอาคาร ๔๒ หลังที่ก่อสร้างในระยะที่ ๒ และ ๓ นั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด ๒ ชั้น จำนวน ๓ หลัง ได้แก่ อาคารอเนกประสงค์ อาคารเรือนรับรอง และอาคารสหปฏิบัติการ

CopyRight@2007 THE THAI-CAMBODIAN TIE OF AFFECTION: KAMPONG CHHEUTEAL HIGH SCHOOL


ของขวัญล้ำค่าจากพระปรีชาญาณ






สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แห่งราชอาณาจักรไทย ทรงสร้างวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล พระราชทานเป็นของขวัญที่ยั่งยืนแก่ประชาชนชาวกัมพูชา เพื่อตอบแทนน้ำใจไมตรีรวมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์และความเป็นมิตรที่ดีต่อ กันของประชาขนทั้งสองประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประธานโครงการ

วิทยาลัย กำปงเฌอเตียลเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เปิดสอนทั้งสายสามัญและสาย อาชีวศึกษา การพระราชทานโรงเรียนแห่งนี้เป็นการพระราชทานโรงเรียนทั้งระบบ ตั้งแต่การสำรวจความต้องการของชุมชนการก่อสร้างอาคารเรียนและบ้านพักครู นักเรียน การพัฒนาหลักสูตร การเตรียมบุคลากร การพัฒนาการเรียนการสอน การพัฒนาการบริหาร การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การนิเทศติดตามผลการจัดการศึกษาและกิจกรรมพิเศษอื่นๆ การพระราชทานทุนการศึกษาแก่ครูและนักเรียน รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพื้นที่ก่อสร้างโรงเรียนเป็นครั้งแรก ณ ตำบลช็อมโบร์ อำเภอปราสาทช็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม เมือวันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ ทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ทรงติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนเมื่อวันอังคารที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ และวันศุกร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ตลอดจนเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลแห่งนี้เมื่อวัน พฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘


CopyRight@2007 THE THAI-CAMBODIAN TIE OF AFFECTION: KAMPONG CHHEUTEAL HIGH SCHOOL

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

A complete vocabulary Cambodian - Thai - English


วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

សាលាវិទ្យាល័យកំពង់ឈើទាល ចំណងមិត្តភាពថៃ-ខ្មែរ

មិត្តភាពថៃ-ខ្មែរ

วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล
อำเภอปราสาทซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม
พระราชอาณาจักรกัมพูชา
เป็นโครงการพระราชทานความช่วยเหลือ
ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
แก่พระราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา

สนใจรายละเอียดก่อนไปดูงาน ดาวน์โหลดที่นี่