Translate our WebBlog into other languages 40 languages.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาชีวศึกษา:หลักประกันความมั่นคง







การดำเนินการของอาชีวศึกษาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อฝ่ายกัมพูชาได้ของพระราชทานโรงเรียนที่มีการสอนทั้งสายสามัญ และสายอาชีพนั้น ทางคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ได้จัดวิชาชีพที่ต้องการในชั้นต้น ได้แก่ ไฟฟ้า กสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ ประมง และการซ่อมเครื่องยนต์

ในระยะแรก การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกองบัญชาการตำรวจตระเวยชายแดน โดยได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ พูดคุยกับชาวบ้าน และช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการพัฒนาที่ดินเพื่อการเพาะปลูกในโรงเรียนก่อน สำหรับเป็นตัวอย่างของชุมชนต่อไปในระยะแรก ๆ ครูยังไม่มีความรู้ที่จะแนะนำการเกษตรให้แก่นักเรียน และชุมชนใกล้เคียนของโรงเรียน ส่วนด้านการประมง และปศุสัตว์ก็เช่นเดียวกัน ครูของโรงเรียนไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ทางคณะกรรมการฝ่ายคุณภาพการศึกษา และคุณภาพชีวิตได้จัดอบรมครูทั้ง 4 สาขาวิชา หลายครั้ง ในประเทศไทย เพื่อให้ครูมีความรู้เพียงพอที่จะสอนักเรียนได้

ในช่วง พ.ศ.2546 จนถึง พ.ศ.2548 สำนักงานคุณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดการด้านอาชีวศึกษาของวิทยาชัยกำปงเฌอเตียล โดยได้วางแผนออกแบบเครื่องมือ ครุภัณฑ์ จัดการเรียนการสอน ฝึกอบรมครูวิชาชีพ ตลอดจนจัดกิจกรรมที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้


1. ได้นำครูที่ไม่มีพื้นความรู้ทางด้านวิชาชีพเข้ารับการอบรมด้านการสอนวิชาชีพ และทักษะทางวิชาชีพ ณ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อพัฒนาเป็นครูสอนสายอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

2. ได้นำครูต้นแบบของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลเข้าศึกษาดูงานในประเทศไทย ณ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรกมาการอาชีวศึกษาทั้งประเภทวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี และวิทยาลัยสารพัดช่างได้ร่วมฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนได้ศึกษาดูงานในงานมหกรรมอาชีวศึกษาเทิดไท้ 72 พรรษา มหาราชินี ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่าง 12 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2548

3. จัดให้มีกิจกรรมค่ายอาสาสมัครวิชาชีพเยาวชนไทย - กัมพูชา ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ระหว่างวันที่ 9-20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยการนำนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 4 คน จากสถานศึกษาในสังกัดวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี ที่สื่อสารภาษาเขมรได้ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ทางด้านวิชาชีพตลอดจนจัดให้มีการแข่งขันกีฬา และกิจกรรมค่าย ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนทั้งสองประเทศ

4. จัดอบรมคอมพิวเตอร์ให้ครูอาชีวศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 26 คน จาก 4 สาขาวิชา ระหว่างวันที่ 15 -19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากพบว่าครูอาชีวศึกษามีทักษะด้านการใช้คอมพิวเตอร์น้อย ทำให้มีผลกระทบต่อการสืบค้นความรู้ และจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ประกอบกับครูอาชีวศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเชิงวิศวกรรม ตอลดจนการจัดทำสื่อการสอน ดังนั้นจึงได้จัดการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรกลุ่มนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปให้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยการในการอบรมเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสามารถพึ่งพากันเองทางวิชาการได้ และเพื่อสรรหาครูอาชีวศึกษาที่มีผลการประเมินสูงสุด จากการอบรม มาเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ให้แก่นักเรียนอาชีวศึกษา และจากการประเมินความก้าวหน้าการใช้คอมพิวเตอร์ของครูอาชีวศึกาาที่ผ่านการอบรม 2 เดือน พบว่า มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

5. จัดอบรมวิชาชีพระยะสั้นให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน จำนวนกว่า 20 อาชีพ ระกว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ.2547 เพื่อส่งเสริมแนวทางการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้หลัก และรายได้เสริมให้แก่ครู นักเรียน ณ วิทลัยกำปงเฌอเตียล โดยได้รับความสนใจอย่างดียิ่ง ยอดผู้เรียนทั้งสิ้นกว่าพันคน และได้ออกบริการสอนวิชาชีพ ณ ชุมชนตลอาดกำปงเฌอเตียล 3 อาชีพ ซึ่งผู้นำชุมชน และชาวชุมชนกำปงเฌอเตียลสนใจเข้าเรียนจำนวนมาก

6. สนับสนุนนักเรียนทุนพระราชทานฯ ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาเกษตรกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์ ณ ประเทศไทย โดยได้รับนักเรียนเกรด 9 เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตร 3 ปี จำนวน 4 คน และนักเรียนเกรด 12 เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี และจะสนับสนุนนักเรียนกลุ่มนี้จนกระทั่งสำเร็จใหนระดับปริญญาตรีในสายเทคโนโลยี

7. จัดให้นักเรียนอาชีวศึกษา สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์เข้าพักในบ้านพักเกษตรด้านหลังวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จำนวน 12 หลัง ทำกิจกรรมปลูกผัก และเลี้ยงปลาดุก เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

8. จัดอบรมครูอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 25 - 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เพื่อเรียนรู้เทคนิควิธีการในการจัดทำสื่อประเภทแผ่นใส และแผ่นผ้า ซึ่งจะทำให้ครูเหล่านี้สามารถใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมนำมาผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้เอง ก่อให้เกิดการประหยัด และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาอย่างมาก

9. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้มอบชุดเครื่องส่งวิทยุเอฟ - เอ็ม ให้แก่จังหวัดกำปงธม และติดตั้งจนสามารถกระจายเสียงได้ในรัศมี 50 กิโลเมตร ซึ่งจังหวัดกำปงธมได้ใช้เครื่องส่งดับกว่างกระจายเสียงเพื่อให้ข่าวสาร และการบันเทิงแก่ประชาชนในจังหวัด และบริเวณใกล้เคียง

10. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการซ่อมมอเตอร์ไซด์พระราชทาน จำนวน 38 คัน เพื่อนำไปใช้ในกิจการของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

11. นำนักเรียนอาชีวศึกษาเข้าศึกษาดูงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ดังนี้ วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีบางไทร วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ และวิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน พ.ศ. 2548



อาชีวะศึกษา : หลักประกันความมั่นคงในอนาคต


แผนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในปี พ.ศ. 2549



สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้เตรียมดำเนินการด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านอาชีวศึกษา ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ดังนี้

1. ปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาขึ้นใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากผลการประเมินการจัดการเรียนรการสอนในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบว่า หลักสูตรด้านอาชีวศึกษาาาที่ใช้ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะด้านวิชาชีพ นอกจากนั้นบางรายวิชาในหลักสูตรไม่มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนกัมพูชา ดังนั้นเพื่อให้วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลมีหลักสูตรที่สามารถตอบสนองเพื่อสร้างบุคลากรด้านนี้ให้แก่ราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างแท้จริง จึงจะเสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่วขึ้นใหม่ทั้ง 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์

2. ปรับปรุงตารางเรียนเฉพาะรายวิชาชีพในรูปแบบ "block release" เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้เกิดระบบการจัดการเรียนการสอนที่เนื่อง และจบเป็นเรื่อง ๆ ซึ่งการจัดตารางเรียนในลักษณะนี้จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และได้ฝึกทักษะในวิชาชีพนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับธรรมชาติของการเรียนการสอนสายอาชีวศึกษา นักเรียนไม่สับสน และพวงกับการเรียนวิชาอื่น เนื่องจากมีการเรียนในช่วงเวลานั้นเพียงครั้งละ 1 วิชา นักเรียนที่สำเร็จในแต่ละวิชาชีพจะสามารถนำความรู้ และทักษะไปใช้งานได้จริง ครูที่ว่างจากการสอนสามารถนำไปอบรบพัฒนา เตรียมการสอน จัดทำสื่อการสอน หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้

3. จัดอบรมวิชาชีพระยอสั้นให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน จำนวน 20 อาชีพ ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เนื่องจากการจัดอบรมวิชาชีพระยะสั้นครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 มีผู้สนใจเข้าเรียนจำนวนมากทุกวิชาชีพช่าวยสร้างรายได้เสริมให้แก่ครู นักเรียน และชุมชน จึงได้วางแผนจะจัดกิจกรรมนี้ปีละครั้ง

4. จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครวิชาชีพเยาวชนไทย -กัมพูชา ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล โดยการนำนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 10 คน จาก 4 สาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาพื้นฐาน สาขาวิชาละ 2 คน จากสถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเภทวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีที่สื่อสารภาษาเขมรได้ ทั้งนี้เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ซึ่งในการจัดกิจกรรมค่ายดังกล่าวในครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนตุลาคม พ.. 2547 นั้น ผลจากการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยเฉพาะกับนักเรียนอาชีวศึกษาปีสุดท้ายของวิทยาลัยแห่งนี้ โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬา และกิจกรรมค่ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนทั้งสองประเทศ ซึ่งได้วางแผนจะจัดปีละ 2 ครั้ง

5. สนับสนุนนักเรียนทุนพระราชทานฯ ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชากสิกรรม และสาขาวิชาปศุสัตว์ ณ ประเทศไทย โดยจะรับนักเรียนอาชีวศึกษาเกรด 12 เข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี จำวน 8 คน สาขาวิชาละ 2 คน ใน 4 สาขาวิชาที่เปิดสอน เพื่อพัฒนาเป็นครูอาชีวศึกษา และจะสนับสนุนนักเรียนกลุ่มนี้จนกระทั่งสำเร็จในระดับปริญญตรีในสายเทคโนโลยี

6. นำครูอาชีวศึกษาของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลที่มีความตั้งใจในการทำงานเข้าศึกษาดูงาน ณ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ครูอาชีวศึกษาที่มีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน

7. นำครูใหม่อาชีวศึกษาดูงานในงานมหกรรมอาชีวศึกษาเทิดไท้ 12 สิงหามหาราชินี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา และเป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพในสาขาที่เรียน เพื่อก้าวทันต่อพัฒนาการด้าน อาชีวศึกษา ตลอดจนได้เรียนรู้ประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่ทันสมัย

8. อบรมการจัดทำสื่อการเรียนการสอนประเภทชุดฝึกปฏิบัติให้แก่ครูอาชีวศึกษา เนื่องจากสภาพปัจจุบัน สื่อประเภทชุดฝึกมีจำนวนน้อยมาก ทำให้การฝึกปฏิบัติไม่สามารถเอื้อต่อการเรียนรู้ด้านวิชาชีพในสาขาวิชานั้น ๆ ถ้าครูอาชีวศึกษาสามารถสร้างสื่อดังกล่าวได้เองจะช่วยเสริมสร้างคุณภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น และช่วยประหยัดงบประมาณด้านการจัดทำ และวัสดุที่ใช้ฝึกปฏิบัติได้มาก

9. จากการอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านวิชาชีพให้กับครูอาชีวศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ผลปรากฏว่า ครูเหล่านั้นสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการจัดทำเอกสารการสอน การสืบค้นความรู้จากอินเตอร์เน็ต ในระยะต่อไปจะจัดอบรมด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ในระดับที่สูงขึ้นให้แก่ครูอาชีวศึกษา และเพื่อเอื้อต่อการเตรียมการสอน การจัดทำสื่อการสอน ตลอดจนการประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ

10. จัดกลุ่มธุรกิจ โดยให้มีการรวมกลุ่มของนักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อนำผลผลิตที่ได้จากการฝึกปฏิบัติให้สาขาวิชาต่าง ๆ มาดำเนินการในเชิงพาณิชย์ ทั้งธุรกิจบริการ และธุรกิจการจัดจำหน่าย ในระยะแรกจะดำเนินการผ่านสหกรณ์ร้านค้าวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

11. พัฒนาความรู้ด้านทักษะวิชาชีพให้แก่ครูอาชีวศึกษาที่มีอยู่เดิม โดยจะจัดการอบรม ณ โรงเรียนอาชีวศึกษาดอนบอสโก พนมเปญ เป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาให้เป็นครูชำนาญการด้านปฏิบัติ เฉพาะรายวิชา และในอนาคต หากครูอาชีวศึกษาดังกล่าวไม่สามารถพัฒนาให้สอนวิชาชีพได้ อาจจะมีแผนให้พัฒนาเป็นครูสอนวิชาสามัญให้แก่นักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับระบบการจัดตารางเรียนแบบ "block release" สำหรับ ครูที่บรรจุใหม่ และนักเรียนทุนพระราชทานฯ สายอาชีวศึกษา ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นครูผู้เสนอทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ


กิจกรรมการเรียนการสอนนานับปการที่คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดขึ้นด้วยความจริงใจ และเสียสละทำให้นักเรียนอาชีวศึกษาที่เรียนจบเกรด 12 หลายคนได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และหลายคนได้เข้าทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ทำให้มีรายได้จากวิชาชีพที่ติดตัวไปจากวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น