Translate our WebBlog into other languages 40 languages.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การศึกษาเพื่อสานฝันอันยั่งยืน



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้งเพื่อทรงศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เพราะทรงถือว่าราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องอารยธรรมของโลก การตอบแทนน้ำใจไมตรีของชาวกัมพูชา ไม่มีสิ่งใดจะล้ำค่าและยั่งยืนเท่ากับการพระราชทานการศึกษาให้กับชาวกัมพูชา
ในเรื่องของการศึกษา ทรงมีพระราชปณิธานว่า

"ข้าพเจ้าเห็นมาตั้งแต่เด็กว่า การพัฒนาการศึกษา การแพร่ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ชาติจะได้ก้าวหน้าและคนที่แพร่ความรู้ก็ได้บุญด้วย"

จากพระราชปณิธานดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้พระราชทานของขวัญที่ยั่งยืน คือแหล่งแพร่ความรู้เพื่อชาวกัมพูชาเอง ผู้ที่ได้รับความรู้นั้นจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทบเท่าทวีคูณไปเรื่อยๆ จนครูและนักเรียนในโรงเรียนจำนวนมากจะได้นำความรู้ไปช่วยกันพัฒนาราชอาณาจักรกัมพูชาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
การจัดการศึกษาในวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลจึงมีทั้งการศึกษาสายสามัญ สายอาชีวศึกษา ๔ สาขาวิชา ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ฝ่ายกัมพูชาขอพระราชทานให้โรงเรียนมีหลักสูตร ๒ ประเภท คือ


๑. สายสามัญ เกรด ๗-๑๒ จำนวน ๔ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชากสิกรรม และสาขาปศุสัตว์
ฝ่ายกัมพูชาได้ดำเนินการเตรียมหลักสูตร คัดเลือกบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถและสมัครใจมาทำงานที่โรงเรียน อาทิ ครูผู้สอนสายสามัญ ครูผู้สอนสายอาชีวศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนที่จะสามารถบริหารโรงเรียนและหลักสูตรได้
การเตรียมการทางด้านการบริหารการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาหลักสูตรวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลนั้น คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตดำเนินการอย่างต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยมีคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการการฝึกอบรม ได้แก่


๑. การจัดรูปแบบการศึกษาตามที่ราชอาณาจักรกัมพูชาต้องการ


๒. การจัดอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้บริหารและครูในประเทศไทยหลายครั้ง รูปแบบการอบรมมีหลายรูปแบบ ทั้งการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานสถานศึกษาลักษณะต่างๆ ฝึกปฏิบัติการ วางแผนจัดกิจกรรมผลิตสื่อการสอน และการวัดประเมินผล หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรของโรงเรียนแบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ

ดังนี้



๒.๑ การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน (Basic Workshop) สำหรับบุคลากรของโรงเรียนทุกคน ดำเนินการฝึกอบรม ในประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญ อาทิ


๑) วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

๒) หลักสูตรโรงเรียน

๓) การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

๔) แผนการสอนแบบบูรณาการ

๕) โรงเรียนเพื่อสร้างปัญญาและพัฒนาคุณภาพชีวิต


๖) รายงานการศึกษาตนเอง

๗) โครงการเรียนรู้ของนักเรียน

๘) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

๙) การประกันคุณภาพการศึกษา

๑๐) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

๑๑) เทคโนโลยีการศึกษา


๑๒) หลักสูตรขั้นสูงสำหรับผู้บริหาร ได้แก่ การบริหารคุณภาพในองค์รวม (TQM) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และการวางแผนกลยุทธ์พัฒนาโรงเรียน ฯลฯ



๒.๒ การฝึกอบรมขั้นสูง (Advanced Workshop) สำหรับบุคลากรของโรงเรียนตามสายวิชาที่สอนหรือตามสายงานการบริหารและสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียน โดยดำเนินการฝึกอบรมในประเทศไทย สาระสำคัญประกอบด้วย


๑) การวิเคราะห์หลักสูตรและการจัดทำแผนการสอนระยะยาวและรายคาบ


๒) การศึกษาเนื้อหาองค์ความรู้เพิ่มเติม การจัดทำสื่อธรรมชาติ และสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา




๓) การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน


๔) การจัดทำระบบการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน


๕) การทดลองสอน การนิเทศการสอน และการปรับปรุงพัฒนาการสอน


๒.๓ การฝึกปฏิบัติการในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและเน้นประสิทธิผล (โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน Instructional Quality Development Project - IQDP)


สาระสำคัญของโครงการ IQDP ประกอบด้วย


๑) การวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน



๒) การจัดทำแผนการสอนและแผนการทำงานของครู


๓) การจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู หมวดวิชา และระดับชั้น


๒.๔ การจัดอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มเติม ณ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล หลายครั้งในหัวข้อต่างๆ ดังนี้


๑) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ


๒) การสอนสุขภาพอนามัยและการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน


๓) การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา



๔) หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ๑๐๘ อาชีพ


๕) สหกรณ์โรงเรียน



ในการจัดอบรมสัมมนาทุกครั้ง คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตจะยึดแนวพระราชปณิธานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า การจัดการศึกษา ณ ที่ใดต้องคำนึงถึงขอบเขตและความเป็นไปได้ตามสถานภาพของที่นั้น และ การจัดการศึกษาต้องมีการพูดคุยกันอย่างละเอียด การเพิ่มเติมเนื้อหาวิชาหรือหลักสูตรใดควรเหมาะสมกับพื้นที่ ดังนั้น การดำเนินการช่วยเหลือตามแนวพระราชดำริ ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักสูตร วิธีการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และการประเมินผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น